เสริมสะโพก (Buttock Augmentation)
การเสริมสะโพกให้ทรวดทรงดูมีส่วนเว้าส่วนโค้งขึ้นมีหลากหลายเทคนิค ซึ่งในปัจจุบันได้มีเทคนิคการผ่าตัดแบบใช้ซิลิโคนซึ่งถือว่าเป็นการศัลยกรรมที่นิยมมากในสาว ๆ ฝั่งประเทศบราซิลและอเมริกาที่มีความต้องการให้สะโพกหรือก้นใหญ่ขึ้น ส่วนในประเทศไทยแม้ว่าการเสริมสะโพกยังไม่เป็นที่นิยมเท่ากับการเสริมหน้าอกแต่ก็ถือเป็นอีกทางเลือกของการศัลยกรรมปรับรูปร่างที่เริ่มได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้สัดส่วนดูสวยงามสมบูรณ์แบบ
การผ่าตัดศัลยกรรมเสริมสะโพกเหมาะกับใคร
- ผู้ที่มีรูปร่างโดยรวมไม่มีส่วนเว้าโค้ง
- ผู้ที่บั้นท้ายไม่มีวอลลุ่มฟีบแบน
- ผู้ที่สะโพกขาดวอลลุ่มจากการลดน้ำหนัก
การเสริมสะโพกแพทย์จะเปิดแผลบริเวณร่องก้น และเสริมซิลิโคนใส่ไว้ภายในกล้ามเนื้อ วิธีนี้ช่วยให้รูปทรงของสะโพกสวยงาม หมดปัญหาสะโพกบุ๋ม โดยสามารถเลือกขนาดของซิลิโคนได้ ซึ่งมีหลากหลายขนาดแล้วแต่ความชอบ ทั้งนี้การเลือกขนาดไม่ควรเลือกขนาดที่ใหญ่เกินไปเพราะอาจจะมีปัญหาหลังผ่าตัดได้ (แพทย์จะเป็นผู้ประเมินตามความเหมาะสมในแต่ละคน)
การผ่าตัดเสริมสะโพก แก้สะโพกบุ๋ม
สำหรับการผ่าตัดแพทย์จะทำการผ่าบริเวณร่องก้น ยาวประมาณ 4-5 ซม. จากนั้นใส่ถุงซิลิโคน (Buttocks impaints) เป็นรูปทรงกลมหรือทรงรี(หยดน้ำ) แล้วแต่ความเหมาะสมเข้าไปใต้กล้ามเนื้อก้นที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อส่วนนอกและส่วนกลางซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ช่วยลดปัญหาการเคลื่อนที่ของถุงซิลิโคน
การเปิดแผลส่วนนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะสามารถซ่อนแผลได้ดีทำให้เห็นไม่ชัดและเปิดแผลเพียงแผลเดียวก็สามารถทำได้ทั้ง 2 ข้าง
การผ่าตัดเสริมสะโพกให้ดูใหญ่และได้สัดส่วนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความงดงามของรูปร่างเสริมบุคลิกภาพให้เกิดความมั่นใจ อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการผ่าตัดสูง
ซิลิโคนที่ใช้เสริมก้น/สะโพก นั้นจะมีลักษณะแบนและมีความกว้างกว่าซิลิโคนหน้าอก และจะเป็นซิลิโคนเจลชนิดพิเศษที่มีความหนาแน่นมาก (High Cohesive gel) ซึ่งจะมีความแข็งและยืดหยุ่นน้อยกว่าซิลิโคนหน้าอก ทำให้ทนต่อแรงกดได้มากกว่า เพราะการเสริมก้น/สะโพกเป็นการใส่ถุงซิลิโคนในบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวและกดทับมากกว่าบริเวณหน้าอก
รูปทรงของซิลิโคน
- ทรงกลม จะมีรูปร่างกลมและแบนเหมาะสำหรับเสริมบริเวณสะโพกด้านใน หรือ บริเวณก้น
- ทรงหยดน้ำหรือทรงรี ตัวซิลิโคนจะมีรูปทรงวงรีเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมด้านข้างของสะโพกโดยมีข้อดีคือ มีเมื่อเสริมแล้วจะได้ธรรมชาติ
การฉีดไขมันร่วมกันกับการเสริมซิลิโคนสะโพก
ในบางคนที่ต้องการเสริมบริเวณสะโพก/ก้นด้านข้างร่วมด้วย แพทย์อาจต้องพิจารณาการเสริมซิลิโคนร่วมกันกับการฉีดไขมัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์ประเมิน)
ดูดไขมันร่วมกับการเสริมก้นเพื่อผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น
สำหรับคนไข้บางคนที่มีไขมันสะสมบริเวณหลังและหน้าท้องเหนือสะโพก เอว หรือบริเวณใต้ก้น ทำให้แม้จะเสริมสะโพกหรือก้นแล้วอาจยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่สวยงามเท่าใดนัก ดังนั้นจึงสมควรต้องมีการผ่าตัดร่วมกับการดูดไขมันบริเวณดังกล่าวร่วมด้วยเพื่อให้รูปร่างของสะโพกสวยงามมากขึ้น เนื่องจากการมีช่วงเอวและขาที่พอเหมาะ จะทำให้เห็นความโค้งเว้าของทรวดทรงบั้นท้ายหรือสะโพกเด่นชัดยิ่งขึ้น
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบข้อมูลโรคประจำตัว ยาโรคประจำตัว, ประวัติการผ่าตัด, ประวัติการแพ้ยา, ประวัติการแพ้อาหาร (หากมีประวัติการรักษาจากโรงพยาบาล ควรนำมาในวันปรึกษาด้วย) หรือแจ้งก่อนวันจองคิวผ่าตัด
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด และยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด หรือยาโรคประจำตัวอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการผ่าตัดหรือแจ้งก่อนวันจองคิวผ่าตัด
- งดทานวิตามินอาหารเสริมต่าง ๆ ทุกชนิด เช่น วิตามินอี, น้ำมันปลา, ใบแปะก๊วย เมล็ดองุ่น โสม ฯลฯ ต้องหยุดยาอย่างน้อย 1 เดือน
- งดดื่มน้ำ งดรับประทานอาหารทุกชนิดก่อนผ่าตัด 8 ชั่วโมง*
- ควรสระผมให้สะอาดเรียบร้อยก่อนวันผ่าตัด และไม่แต่งหน้าในวันผ่าตัด งดใส่คอนแทคเลนส์ในวันผ่าตัด หากมีปัญหาด้านสายตาให้สวมแว่นสายตาแทน
- งดใส่เครื่องประดับทุกชนิด เช่น ต่างหู สร้อย แหวน จิลต่าง ๆ บนร่างกายในวันผ่าตัด (หากถอดออกไม่ได้ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ)
- งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนและหลังผ่าตัด เนื่องจากสารที่อยู่ในบุหรี่มีผลลดปริมาณออกซิเจนในเลือดและทำลายเซลล์ที่จะซ่อมแซมการหายของแผล มีผลทำให้เลือดที่จะมาหล่อเลี้ยงบริเวณที่ผ่าตัดลดลง โดยมีโอกาสให้ผิวหนังที่ผ่าตัดขาดออกซิเจน ทำให้แผลหายช้ากว่าปกติ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1-2 วันก่อนผ่าตัด และต่อเนื่องอย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- ก่อนการผ่าตัด คนไข้ต้องทำความสะอาดเล็บมือเล็บเท้าให้สะอาด งดการทาเล็บมือ, เล็บเท้า และงดการต่อเล็บทุกชนิด
- คนไข้ต้องเข้ามาทำการตรวจเลือดที่รพ.อย่างน้อย 5-7 วันก่อนการผ่าตัด (กรณีไม่สะดวกเข้ามาเจาะเลือดที่รพ.สามารถส่งผลตรวจเลือดมาได้)
- กรณีคนไข้ที่มีอายุเกิน 45 ปี ต้องมีผลตรวจสุขภาพและใบรับรองแพทย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์)
- เตรียมภาวะจิตใจให้พร้อม ไม่ควรตื่นเต้นมากเกินไป และควรทราบว่าหลังผ่าตัดย่อมเกิดการบวมช้ำบริเวณแผล และการเปลี่ยนแปลงของใบหน้า หรือบริเวณร่างกายที่ทำการผ่าตัด ซึ่งต้องใช้เวลาในการหายของแผลหรือความเคยชินกับภาพลักษณ์ใหม่
การดูแลหลังผ่าตัด
- นอนพักที่โรงพยาบาลประมาณ 2 – 3 วัน
- หลังผ่าตัดแพทย์จะใส่สายระบายเลือด-น้ำเหลืองประมาณ 2 – 3 วัน
- แพทย์จะเปิดผ้าพันแผลในวันที่ 2 หรือ 3 และหลังจากเปิดแผล ควรทำแผลทุกวันจนถึงวันตัดไหม
- หลังผ่าตัดต้องนอนคว่ำอย่างน้อย 7 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้แผลแยกและช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น หลังจากนั้น สามารถนอนตะแคงสลับการนอนคว่ำ เป็นเวลาประมาณ 2-3 อาทิตย์ และต้องใส่กางเกงยกกระชับสะโพก อย่างน้อย 1 เดือนเพื่อช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น
- ผลของการผ่าตัดจะเห็นผลได้ชัดเจนตั้งแต่วันแรก แต่จะยังมีอาการบวมอยู่ โดยก้น/สะโพกจะดูนิ่มและเป็นธรรมชาติประมาณ 2 – 3 เดือนขึ้นไปหลังผ่าตัด
- วันที่ 3 หลังการผ่าตัดสามารถเดินหรือนั่งได้ช้า ๆ โดยที่อาจจะรู้สึกปวดตึงอยู่บ้าง
- หลังจากผ่าตัด 1-2 สัปดาห์ สามารถทำการออกกำลังกายเบาๆ เพื่อยืดกล้ามเนื้อ โดยการงอหัวเข่าขึ้นประมาณ 4 – 5 ครั้งต่อวันก็จะช่วยให้เดินได้ปกติเร็วขึ้น (ควรปรึกษาแพทย์)
- กรณีถ้ามีการดูดไขมันร่วมด้วยต้องใส่ชุดสำหรับดูดไขมันประมาณ 3 – 4 อาทิตย์ขึ้นไป
- สามารถออกกำลังกายตามปกติหลังผ่าตัด 4 สัปดาห์ขึ้นไป