โรงพยาบาลมาสเตอร์พีซ 99/19 ถ.สุโขทัย, แขวง ดุสิต เขตดุสิต, กทม. 10300
02-1054370

ชำแหละความจริงการเสริมหน้าอก กับความเชื่อแบบผิดๆ??

ชำแหละความจริงการเสริมหน้าอก กับความเชื่อแบบผิดๆ??

ศัลยกรรมที่สาว ๆ ไซซ์เล็กใฝ่ฝันอยากได้อยากมีไม่น้อยไปกว่าการทำศัลยกรรมอื่น ๆ เลย ก็คงจะไม่พ้นการศัลยกรรมเสริมหน้าอก เพราะทำให้สัดส่วนดูสมส่วนมากขึ้น แต่ยังเกิดค่านิยมผิด ๆ ที่ว่าทำทั้งทีต้องทำให้ใหญ่ ๆ ไปเลยจะได้คุ้ม ไม่ได้ศึกษาว่าเหมาะกับตัวเองหรือเปล่า เมื่อ เสริมหน้าอก ไปแล้วก็มีปัญหาตามมาอีกนับไม่ถ้วน

วันนี้เราจะมาชำแหละข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการ เสริมหน้าอก ที่เป็นความเชื่อแบบผิด ๆ กับบทสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากศัลยแพทย์ตกแต่งชั้นแนวหน้าของไทย ที่ได้รับการรับรองจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย และมีประสบการณ์การผ่าตัดมากกว่า 10 ปี ที่ให้เกียรติมาเปิดใจให้ข้อมูลกันแบบล้วงลึกกันค่ะ

นายแพทย์สมบูรณ์ ไหวพริบ ศัลยแพทย์ตกแต่งชั้นแนวหน้าของไทย ที่ได้รับการรับรองจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย
นายแพทย์สมบูรณ์ ไหวพริบ
ศัลยแพทย์ตกแต่งชั้นแนวหน้าของไทย ที่ได้รับการรับรองจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย

แนะนำตัวกันสักนิด…

นพ.สมบูรณ์ ไหวพริบ จบการศึกษาด้านศัลยกรรมตกแต่ง จากศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นศัลยแพทย์ในด้านการออกแบบและศัลยกรรมตกแต่งหน้าอก อีกทั้งยังศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศัลยกรรมตกแต่งจากบอสตัน และยังเป็นหนึ่งในอาจารย์แพทย์โรงพยาบาลราชวิถีที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการศัลยกรรมมากว่า 10 ปี ปัจจุบันคุณหมอสมบูรณ์เป็นแพทย์ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลมาสเตอร์พีซ และรับคนไข้ที่ต้องการเสริมหน้าอกอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้คุณหมอสมบูรณ์เข้าใจถึงความต้องการของคนไข้และสามารถแก้ไขให้ได้อย่างตรงจุด คุณหมอสมบูรณ์ยังถือคติที่ว่า “ความสวยเป็นเรื่องเบสิก แต่ความเหมาะสมของคนไข้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด”

1. “ทำนมยิ่งใหญ่ ยิ่งดี ทำทั้งทีทำให้คุ้ม”
ค่านิยมผิด ๆ ที่เมื่อเราพูดถึง คุณหมอสมบูรณ์ถึงกับส่ายหน้า “ไม่ใช่บุฟเฟต์นะถึงต้องตักเยอะๆ ถึงจะคุ้ม” คุณหมอสมบูรณ์กล่าวอย่างอารมณ์ดี “การเสริมหน้าอก ไม่เพียงแต่จะช่วยให้รูปร่างสมส่วนขึ้น แต่ยังช่วยเสริมความมั่นใจให้มากขึ้นได้ โดยปกติค่าเฉลี่ยหญิงไทยโดยทั่วไปแล้วอยู่ที่ 280-320 ซีซี ซึ่งการเสริมหน้าอกที่เหมาะสมนั้น เมื่อทำไปแล้วขนาดของหน้าอกควรพอดีกับสัดส่วนของตัวคนไข้ ไม่เล็ก ไม่ใหญ่จนเกินไป และรูปทรงของหน้าอกยังต้องดูคล้อยสวยอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่กลมเป็นบล็อกหรือหย่อนคล้อยจนแลดูยาน ถึงจะเรียกได้ว่ามีหน้าอกที่สวยงามตามอุดมคติ”

“โดยปกติแล้วแพทย์จะต้องพูดคุยถึงความต้องการของคนไข้ก่อน บางทีอาจจะถามไปถึงอาชีพการงาน หรือชีวิตประจำวันเลยก็มี เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินจากความต้องการของคนไข้ก่อน แล้วถึงจะแนะนำโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของสัดส่วนคนไข้เป็นหลัก ซึ่งต้องใช้การตรวจร่างกายเพื่อดูความยืดหยุ่นของหน้าอกร่วมด้วย”

ทั้งนี้คุณหมอสมบูรณ์ยังเผยถึงสาวไทยบางกลุ่มที่นิยมเสริมหน้าอกขนาดใหญ่ประมาณ 400 – 500 ซีซี ซึ่งมีปัญหาที่หลายคนอาจจะคาดไม่ถึงเมื่อเสริมหน้าอกที่มีขนาดใหญ่เกินไปดังนี้อีกด้วย

 

1.หน้าอกแตกลาย

ภาพตัวอย่าง หน้าอกแตกลาย
ภาพตัวอย่าง หน้าอกแตกลาย

“การเสริมหน้าอกที่มีขนาดใหญ่จนเกินไป ผิวหนังบริเวณหน้าอกจะขยายเร็วมากจนทำให้เกิดการแตกลายได้ หลายคนอาจมองว่า “จะแคร์ไปทำไมแค่รอยแตกลาย ปิดไว้ไม่ให้ใครเห็นก็พอแล้ว” หลายคนคิดแบบนี้ แต่พอเจอเข้ากับตัวจริงๆ ก็หมดความมั่นใจไปเลย อีกทั้งยังทำให้เสียทรัพย์มากขึ้นเพื่อรักษารอยแตกอีกด้วย” 

2.เสี่ยงหัวนมชาถาวร

เสี่ยงหัวนมชาถาวร

“การเสริมหน้าอกที่ใหญ่จนเกินไป อาจทำให้ซิลิโคนไปกดทับเส้นประสาทบริเวณหัวนม ทำให้หลังเสริมหน้าอกหลายคนเกิดอาการชาที่หัวนม ทั้งนี้บางคนอาจเกิดอาการชาแค่ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น แต่บางคนอาจเกิดอาการชาได้ตลอดชีวิต และยังไม่มีวิธีทางการแพทย์ที่แก้ไขอาการชาแบบถาวรได้อีกด้วย” 

3.หน้าอกดูเป็นลอนคลื่น

ภาพตัวอย่างหน้าอกเป็นลอนคลื่น
ภาพตัวอย่างหน้าอกเป็นลอนคลื่น

“หน้าอกที่มีขนาดใหญ่จนเกินขนาดฐานหน้าอกเดิม จะทำให้หน้าอกดูเป็นคลื่นไม่สวยงาม ร้ายที่สุดอาจทำให้หน้าอกดูเบี้ยวไม่เป็นทรงอีกด้วย ทางแก้ทางเดียวคือต้องลดขนาดความกว้างของซิลิโคนลง คงไม่มีใครอยากเจ็บตัวหรือเสียเงิน 2 รอบแน่นอน” 

4.เสี่ยงหน้าอกรวมเป็นก้อน ผิดรูปทรง

ภาพตัวอย่างหน้าอกรวมกันเป็นก้อน
ภาพตัวอย่างหน้าอกรวมกันเป็นก้อน

“บางคนอยากให้หน้าอกชิด ๆ เพราะกลัวว่าเสริมหน้าอกออกมาแล้วหน้าอกจะห่างดูไม่สวย แต่การเสริมให้หน้าอกดูชิดกันนั้นดูไม่สวยยิ่งกว่า การสวมเสื้อในก็ช่วยให้หน้าอกชิดขึ้น 20% แล้ว เลิกกังวลเรื่องหน้าอกห่างไปได้เลย” 

5.เสี่ยงแผลปริ ติดเชื้อ

ภาพแสดงการติดเชื้อที่หน้าอก
ภาพแสดงการติดเชื้อที่หน้าอก

“การเสริมซิลิโคนที่ใหญ่มาก ๆ จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณหน้าอกบางลง มีโอกาสที่แผลจากการเสริมหน้าอกปริแตกได้นอกจากแผลปริแล้ว ยังอันตรายหากเสริมหน้าอกใต้กล้ามเนื้อเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ หากดูแลไม่ดีก็อาจทำให้แผลติดเชื้อและทำให้เสี่ยงต่อการโดนตัดเต้านมหากเกิดการติดเชื้อขั้นร้ายแรง แนะนำให้เสริมขนาดที่พอดีกับตัวเองจะดีที่สุด”

6.ปวดหลัง

ปวดหลังจากการเสริมหน้าอกที่มีขนาดใหญ่

“อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เสริมหน้าอกที่มีขนาดใหญ่เกินตัว อย่าลืมว่าการเสริมหน้าอกคือการใส่ซิลิโคนเพิ่มเข้าไปที่ส่วนของลำตัวด้านบน นั่นหมายความว่า หลังของคนไข้จะต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้นตามขนาดซิลิโคนที่ใส่เข้าไป อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ตามมา หรือขั้นร้ายแรงที่สุด อาจเกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหรือผิวหนังได้ ยิ่งนานไปก็จะยิ่งเรื้อรัง และอาจเป็นปัญหาที่แก้ไม่หาย” 

7.ผู้ชายไม่ปลื้ม

เหตุผลที่ผู้ชายไม่ชอบผู้หญิงหน้าอกใหญ่

“อย่างที่เห็นข้างบนว่าชายไทย ก็ไม่ได้ชอบให้ผู้หญิงมีหน้าอกขนาดใหญ่มาก เพราะจะดูน่ากลัวจนเกินคำว่าน่าดู ดังนั้นการเสริมหน้าอกที่มีขนาดพอเหมาะ ดูเข้ากับรูปร่างและสัดส่วนของแต่ละคนจึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุด”

2. อยากทำนมแต่งก! เงินหาใหม่ได้ ชีวิตหาใหม่ไม่ได้!
ในยุคที่ใคร ๆ ก็หาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ก็ทำให้บางคนอาจตกเป็นเหยื่อให้กับการประชาสัมพันธ์ของคลินิกที่อาจไม่ได้มีใบอนุญาต หรือแพทย์ที่ไม่ได้มีใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้อง จนทำให้เกิดเป็นข่าวการเสียชีวิตจากการทำศัลยกรรมมากมายจนถึงทุกวันนี้ “การเสริมหน้าอกเป็นหนึ่งในศัลยกรรมที่ละเอียดอ่อนละมีความเสี่ยงสูง ต้องใช้ขั้นตอนการตรวจเช็กมากมาย เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาตรงกับความต้องการของคนไข้ และที่สำคัญที่สุดคือ ความปลอดภัย เพราะการเสริมหน้าอกไม่ใช่เพียงแค่การผ่าแล้วยัดซิลิโคนเข้าไปเท่านั้น หากการผ่าตัดไม่ได้ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมวิสัญญีแพทย์ เมื่อเกิดปัญหาระหว่างการผ่าตัด อาจเกิดความสูญเสียขึ้นได้”   

“อย่างที่บอกไปข้างต้นสิ่งสำคัญกว่าเรื่องราคาคือเรื่องความปลอดภัย ดังนั้น ทุกคนจึงควรรู้ว่าสถานประกอบการที่ดี และปลอดภัยควรมีอะไรบ้าง” 

            1.ศัลยแพทย์

            “การเลือกเสริมหน้าอกครั้งหนึ่งนั้น เรื่องแพทย์ถือเป็นเรื่องที่ควรศึกษาเป็นอันดับแรกเลย เพราะการเลือกแพทย์ดีถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง จะรู้ได้ไงว่าแพทย์คนไหนดี ก็สามารถเช็กรายชื่อศัลยแพทย์ได้ที่ “สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย” เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราเลือกหมอที่มีคุณภาพและมีประสบการณ์ทางด้านนี้โดยตรง”

             2.วิสัญญีแพทย์

            “วิสัญญีแพทย์มีความสำคัญต่อการผ่าตัดมาก ๆ เพราะมีหน้าที่คือให้การระงับความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยในระหว่างการผ่าตัด อีกทั้งวิสัญญีแพทย์ยังต้องรู้ว่าการผ่าตัดต้องใช้เวลานานเพียงใด มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัด และหลังการผ่าตัด ซึ่งหากมีอาการผิดปกติวิสัญญีแพทย์ต้องสามารถช่วยให้คนไข้ปลอดภัยได้อย่างทันท่วงที” 

            3.สถานประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต

                “สถานประกอบการที่ดี ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือคลินิกควรเชื่อถือได้ ไม่ใช่คลินิกเถื่อนที่ลักลอบเปิดกันเอง แบบนั้นอันตรายมาก ดังนั้นก่อนตัดสินใจศัลยกรรมใด ๆ ก็แล้วแต่ควรเช็กดูก่อนว่าสถานประกอบการนั้นมีใบอนุญาตการเปิดกิจการด้านนี้โดยเฉพาะหรือไม่” 

            4.ซิลิโคนได้รับมาตรฐาน

            “สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ควรเช็กให้แน่ใจ ว่าดีจริงก็คือซิลิโคน หากเราเช็กมาทุกอย่างว่าที่คลินิกหรือโรงพยาบาลนี้ หมอเก่งมาก มีวิสัญญีแพทย์โดยเฉพาะ สถานประกอบการได้รับอนุญาต แต่ลืมเช็กว่าซิลิโคนได้มาตรฐานหรือไม่ ก็อาจทำให้หน้าอกพังได้ ดังนั้นก่อนเสริมหน้าอก ควรเช็กยี่ห้อซิลิโคน หีบห่อที่บรรจุซิลิโคน และใบรับประกันว่ามีเรียบร้อยหรือไม่ และสุดท้ายอย่าลืมขอใบรับประกันซิลิโคนเก็บไว้ด้วย จึงจะปลอดภัยที่สุด” 

“การทำศัลยกรรมก็เปรียบเสมือนการรักษาคนไข้ ไม่ว่าจะทำศัลยกรรมอะไรความปลอดภัยและความสวยงามต้องมาควบคู่กันเสมอ ดังนั้นก่อนตัดสินใจเสริมหน้าอก ควรเลือกคลินิกหรือโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐาน อาจจะมีราคาสูงไปบ้าง แต่เชื่อว่าเมื่อแลกกับความปลอดภัยที่คนไข้จะได้รับ ถือว่าคุ้มค่ากว่ามาก” คุณหมอสมบูรณ์กล่าวเพิ่มเติม

ภาพตัวอย่างหน้าอกรวมกันเป็นก้อน
ภาพตัวอย่างหน้าอกรวมกันเป็นก้อน

3. เชื่อทุกอย่างที่ “เขา” เล่ากันมา…
 “รู้จักชนิดของซิลิโคนที่ใช้เสริมหน้าอกบ้างไหม?” คุณหมอสมบูรณ์หันมาถามทีมงาน “เขาว่ากันว่าทรงกลม ผิวทรายจะดีที่สุดใช่ไหมคะคุณหมอ” ทีมงานคนหนึ่งของเราตอบอย่างรวดเร็ว คุณหมอสมบูรณ์ยิ้ม “เขานี่ใคร?” พร้อมพูดต่อว่า “เขาบอกกันว่าอย่างนั้น เขาบอกกันว่าอย่างนี้ นี่ล่ะตัวดีเลย…หลายๆ คนเดินมาบอกแพทย์ว่า อยากใส่ซิลิโคนยี่ห้อนี้ ลักษณะแบบนี้ ขนาดเท่านี้ โดยที่ยังไม่ได้ปรึกษากับแพทย์เลย ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด”

“ ซิลิโคนที่แพทย์นิยมใช้จะเป็นซิลิโคนแบบเนื้อเจล (Cohesive gel) ซิลิโคนแบบนี้บีบไม่แตก ซึ่งจะช่วยป้องกันการรั่วไหลได้ และยังมีความยืดหยุ่นสูง นี่ไม่นับซิลิโคนเถื่อนที่แอบมาขายกันในราคาถูกๆ นะครับ แบบนั้นมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือถุงซิลิโคนแตกได้มาก “

ซิลิโคนที่ได้รับมาตรฐาน และไม่ได้รับมาตรฐาน
ด้านซ้ายซิลิโคนแบบ Cohesive gel ถึงผ่าเป็น 2 ส่วนก็ไม่มีการไหลของซิลิโคน ส่วนด้านขวาเป็นซิลิโคนที่ไม่ได้มาตรฐาน

“ส่วนเรื่องซิลิโคนผิวทรายหรือผิวเรียบ แบบไหนจะดีกว่ากัน ผมว่าไม่ต่างกันเท่าไร เพราะร่างกายของคนเรานั้นไม่เหมือนกัน การที่จะใส่ซิลิโคนเข้าไปแล้วเกิดพังผืดมากหรือน้อยนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับผิวของซิลิโคนเสมอไป ซึ่งอย่างซิลิโคนผิวเรียบเวลาใส่จะดูนิ่มเป็นธรรมชาติกว่า ส่วนซิลิโคนแบบผิวทรายนั้นผมว่าดีตรงที่เวลาใส่เข้าไป ซิลิโคนจะมีความหนืดมากกว่าซิลิโคนผิวเรียบทำให้ซิลิโคนเคลื่อนที่ไปมาได้ยาก รูปทรงจึงเปลี่ยนแปลงได้น้อย”

“สิ่งที่คนไข้ถามเวลาเข้ามาปรึกษาคือ รูปทรงของซิลิโคน ส่วนใหญ่แล้วเข้ามาถึงก็ขอทรงกลมทันที เพราะอยากได้เนินอกชัด ๆ แต่จริง ๆ แล้วซิลิโคนทรงหยดน้ำเมื่อเสริมเข้าไปแล้วหน้าอกจะดูคล้อยสวยธรรมชาติกว่า ทั้งนี้หากแพทย์ใส่ซิลิโคนไม่ดีพอ ตัวซิลิโคนเองมีโอกาสเกิดการหมุนหรือพลิกกลับของซิลิโคนได้ แตกต่างจากทรงกลม ต่อให้มันหมุนไปทางไหนรูปทรงหน้าอกก็ไม่เปลี่ยน เพราะมันกลมเท่ากันหมด แต่จะดูเป็นธรรมชาติน้อยกว่า ซึ่งมันก็แล้วแต่ความชอบของคนไข้นั้นแหละ”

ภาพแสดงการใส่ซิลิโคนทรงกลมและซิลิโคนทรงหยดน้ำ

การเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ การเสริมหน้าอกทรงกลม
การเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ การเสริมหน้าอกทรงกลม

4. แผลใต้ราวนมเห็นแล้วยี้ แผลใต้รักแร้ดูดีกว่าเยอะ?
อีกหนึ่งเรื่องที่สาว ๆ ที่อยากทำหน้าอกพูดถึงกันคงไม่พ้นเรื่องของ “แผล” เพราะใคร ๆ ก็คงไม่อยากโชว์รอยแผลจากการผ่านมีดหมอมาให้คนอื่นเห็นไปทั่ว แต่จะทำอย่างไรให้หมดความกังวลกับเรื่องเหล่านี้ คุณหมอสมบูรณ์มีคำตอบ “ก็ต้องบอกว่าที่แพทย์หลาย ๆ ท่านนั้นแนะนำว่าแผลใต้รักแร้จะเห็นได้ยากกว่านั้นเป็นความจริง เพราะรอยแผลจะซ่อนไปตามรอยพับของรักแร้ แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าตำแหน่งของการเปิดแผลเพื่อเสริมหน้าอกที่นิยมในประเทศไทยจะมีอยู่ 3 ตำแหน่งด้วยกันนั่นคือ ใต้รักแร้, รอบปานนม และใต้ราวนม โดยการเปิดแผลรอบปานนมนั้นมีข้อดีตรงที่หลังเสริมหน้าอกแล้ว แทบจะไม่เห็นรอยแผลผ่าตัดเลย และเกิดการบาดเจ็บต่อการผ่าตัดน้อย แต่ก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งขนาดปานนมที่ต้องกว้างพอและข้อจำกัดของการเลือกขนาดของซิลิโคนเองที่จะเลือกใส่ใหญ่มากไม่ได้ จึงทำให้การเสริมหน้าอกผ่านทางรักแร้และใต้ราวนมนั้นได้รับความนิยมมากกว่า”

แผลบริเวณต่างๆ ที่นิยมในการเสริมหน้าอก

“อย่างที่กล่าวไปว่าการผ่าแผลใต้รักแร้นั้นจะซ่อนแผลได้ดีกว่า แต่มีข้อเสียคือเวลาใส่ซิลิโคน แพทย์จำเป็นต้องเซาะเนื้อจากทางรักแร้ไปจนถึงหน้าอกเพื่อเคลื่อนซิลิโคนให้เข้าไป ทีนี้ปัญหามันอยู่ตรงที่ช่วงที่ถูกเซาะไปจะเป็นโพรง หากคนไข้ดูแลตัวเองไม่ดี ก็มีโอกาสที่ซิลิโคนจะเคลื่อนหรือไหลได้ ทำให้อาจเกิดความเสี่ยงอื่น ๆ ตามมาได้มากกว่า“ คุณหมอสมบูรณ์เสริม

ตัวอย่างแผลใต้ราวนม และแผลใต้รักแร้

คุณหมอสมบูรณ์ยังแนะนำอีกว่า การผ่าแผลใต้ราวนม มีข้อดีคือกรีดแผลใต้ฐานนม ทำให้ใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างน้อย อีกทั้งแผลในบริเวณนี้ดูแลง่ายเพราะเป็นบริเวณที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวมาก ส่วนข้อเสียคือแผลที่อาจจะสังเกตเห็นได้ง่าย ในจุดนี้ต้องประเมินอย่างรอบคอบเพื่อให้แผลนั้นอยู่ใต้ราวนมพอดี เรื่องแผลจะสวยไม่สวย อยู่ที่ฝีมือแพทย์ล้วน ๆ ถ้ากรีดแผลไม่ดี เย็บแผลไม่สวย ไม่ว่าแผลจะอยู่ส่วนไหนของร่างกายก็ดูไม่ดีทั้งนั้น ในส่วนนี้ต้องถามที่ตัวคนไข้ว่าต้องการให้แผลอยู่ตรงไหน ถึงจะสบายใจมากกว่า และถ้าหากคนไข้เคยมีปัญหาเป็นแผลคีลอยด์มาก่อน  แนะนำให้แจ้งแพทย์ก่อนเสริมหน้าอกเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

5.เสริมหน้าอก ต้องนอนพักค้างคืนหรือไม่?
การพักฟื้นหลังเสริมหน้าอก

“สำหรับการเสริมหน้าอกแบบทั่ว ๆ ไปอาจจะไม่จำเป็นนะครับ การเสริมหน้าอกในปัจจุบัน มีเทคนิคและวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น และวิทยาการก็ก้าวหน้ากว่าเมื่อก่อนเยอะ การเสริมหน้าอกจึงเป็นการทำศัลยกรรมที่ไม่จำเป็นต้องนอนฟักฟื้นค้างคืน เพราะด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บน้อยกว่าเมื่อก่อนมาก ในคนไข้บางรายที่แข็งแรงและเตรียมร่างกายมาพร้อมก่อนการผ่าตัด เมื่อเสริมหน้าอกเสร็จแล้ว ก็สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้เลย แต่บางรายอาจต้องนอนพักฟื้นที่คลินิกหรือโรงพยาบาลซัก 2-3 ชั่วโมง ก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้”

“ในอีกกรณีคือต้องดูด้วยว่าการผ่าตัดของคนไข้รายนั้นมีขั้นตอนอื่น ๆ เสริมด้วยหรือเปล่า เช่นมีการตัดตกแต่งเพื่อยกกระชับ ย้ายปานนมด้วยหรือเปล่า เพราะจะทำให้เกิดการบอบช้ำที่มากกว่า หรือตัวคนไข้เองต้องการจะนอนพักค้างคืน ก็สามารถทำได้ครับ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคนไข้ว่าพร้อมแค่ไหน ทั้งนี้สิ่งสำคัญกว่าการนอนพักฟื้นคือการดูแลร่างกายให้แข็งแรงก่อนเข้ารับการเสริมหน้าอก และเลือกสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน สำคัญที่สุดคือต้องเลือกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และไว้ใจได้คุณหมอสมบูรณ์กล่าวทิ้งท้าย

เรียกได้ว่าการเสริมหน้าอกนั้นมองเผิน ๆ เหมือนเป็นเรื่องที่ดูทำกันได้ทั่วไป หมอที่ไหนทำก็ได้ แต่จริง ๆ แล้วการศัลยกรรมเสริมหน้าอกนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนกว่าที่คิด สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของการ “ประเมินกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ” ก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัด รวมทั้งยังต้องพูดคุยให้คนไข้เข้าใจถึงข้อจำกัดและหาจุดที่คนไข้พอใจมากที่สุดให้ได้

ขอขอบคุณบทความจาก thairath
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  Call Center : 02-1054370
Call Center : 02-1054370
Facebook : masterpiecehospital
Instagram : masterpiece_Hospital
Line : @masterpiecehospital
Youtube : Masterpiece Hospital