โรงพยาบาลมาสเตอร์พีซ 99/19 ถ.สุโขทัย, แขวง ดุสิต เขตดุสิต, กทม. 10300
02-1054370, 02-2413246
เสริมคาง

เสริมคางซิลิโคนปรับรูปหน้า V-Shape สร้างหน้าเรียวยาวแบบถาวร

พื้นฐานสาวๆ มักจะมีใบหน้าที่กลม คางสั้น คางเล็กจนดูไม่ออก เลยทำให้หน้าดูไม่มีมิติ สาวๆ ส่วนมากเลยหันมาศัลยกรรมคาง เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้จริงๆ แก้ไขไม่ยากเลย สามารถเสริมคางให้รูปหน้าดูยาวขึ้นได้ แถมยังไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องของรอยแผลผ่าตัดกันด้วย เนื่องจากแพทย์สามารถทำคางแบบไร้แผลได้ วิธีการก็คือ เปิดแผลผ่าตัดภายในปาก บริเวณซอกเหงือกกับริมฝีปากล่าง แล้ววางแท่งซิลิโคนเข้าไป แค่นี้แผลก็จะถูกซ่อนไว้ในปาก ไม่ต้องโชว์หราให้ใครเห็น

การเสริมคางซิลิโคน

การเสริมคางด้วยซิลิโคน อาจทำได้ 2 วิธี คือ

  1. การเปิดแผลภายนอก แต่ความนิยมจะน้อยกว่าเพราะมักจะหลงเหลือแผลเป็นเอาไว้ หลังจากที่แผลหายสนิทแล้วโดยแพทย์จะเปิดแผลที่บริเวณใต้คาง
  2. การเปิดแผลในปาก โดยเปิดแผลที่ด้านในของปาก ตรงซอกเหงือกกับริมฝีปากล่าง ความยาวของแผลก็จะประมาณ 2 -3 ซม. ตรงบริเวณของเหงือก กับริมฝีปากล่างซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูง เพราะจะทำให้ไม่เห็นแผลเป็นที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัด เพราะการทำผ่าตัดในช่องปาก
ซิลิโคนเสริมคาง
รีวิวเสริมคางซิลิโคน
รีวิวเสริมคางซิลิโคน
รีวิวเสริมคางซิลิโคน
หลังการทำศัลยกรรมเสริมคาง
หลังการศัลยกรรมเสริมคางด้วยซิลิโคน

ขั้นตอนการเสริมคางด้วยซิลิโคน

  1. ฉีดยาชา แล้วเปิดแผลที่ด้านในของปาก ตรงซอกเหงือกกับริมฝีปากล่าง
  2. หลังจากนั้นก็แยกเยื่อหุ้มกระดูกคางตรงขอบล่าง แล้ววางแท่งซิลิโคนเข้าไปในตำแหน่งที่ต้องการ
  3. เย็บปิดแผลด้วยไหมละลาย ใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 1 ชั่วโมง

เลื่อนกระดูกคาง

เลื่อนกระดูกคาง เป็นศัลยกรรมจุดยอดนิยมบนใบหน้า ช่วยเสริมให้ใบหน้าดูมีมิติ ดูมีความเรียวมนตามรูปแบบคางของเรา ที่เข้ากับใบหน้า เลื่อนกระดูกคาง จะช่วยคนที่มีรูปแบบคางบางประเภทที่ไม่เข้ารับกับใบหน้า ทำให้เป็นจุดด้อย เช่น คางสั้น คางเบี้ยวคางหลุบ คางยื้นมากเกินไป เป็นต้น เป็นการทำให้รูปหน้าดูไม่สมส่วนให้เข้ากลับใบหน้า แก้ไขจุดด้อยบนใบหน้าดูสมบูรณ์

ขั้นตอนการเลื่อนกระดูกคาง

  1. ฉีดยาชา และยาสลบให้แก่ผู้รักษาก่อน
  2. แพทย์จะเลาะเนื้อเยื้อภายในช่องปาก และ ทำการใช้เลื่อยไฟฟ้าที่เป็นเครื่องมือแพทย์
  3. ตัดกระดูดกรามบริเวณที่กำหนดไว้
  4. ทำการเลื่อนกรามให้เข้าที่ คนไข้ที่มีคางยาว และต้องการเอาออกแพทย์ จะทำการตัดกระดูดในส่วนที่ยาวออก
  5. จัดให้เข้ากับรูปแบบที่กำหนด

ใครบ้างที่เหมาะสมกับการเลื่อนกระดูกคาง

  1. เหมาะสำหรับคนที่มี ปัญหาเกี่ยวกับคางมากๆ เช่น มีอาการคางสั้นมาก คางยาวมากเกินไป คางเบี้ยว ค้างไม่เสมอกัน
  2. ต้องไม่มีปัญหาทางช่องปาก เช่น กรามอักเสบ ฟันยืน ฟันไม่เท่ากัน
ข้อดีของการเสริมคางซิลิโคน
6 วิธีการดูแลตัวเองหลังเสริมคา

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  • เตรียมรูปภาพทรงคาง หรือตัวอย่างที่ต้องการ เพื่อปรึกษาคุณหมอ พร้อมประเมินรูปทรงก่อนทำ
  • ให้รายละเอียดข้อมูลสุขภาพ เช่น ประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว 
  • ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ทุกชนิด 
  • งดรับประทานบางชนิดก่อนผ่านตัด เช่น ยาในตระกูล แอสไพริน น้ำมันตับปลา ยาสมุนไพร วิตามิน อาหารเสริม อย่างน้อย 1  สัปดาห์
  • ควรรับประทานอาหารให้พออิ่ม ก่อนเข้าห้องผ่าตัด โดยที่ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร
  • ทำความสะอาดช่องปาก ล้างหน้า แปรงฟัน และบ้วนปากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อในช่องปาก ก่อนผ่านตัด
  • ไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับทุกชนิด เนื่องจากอาจเป็นตัวนำไฟฟ้าในขณะผ่าตัด ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อผู้รับบริการ
  • ควรเตรียมร่างกายให้พร้อมด้วยการออกกำลังกาย อย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือนก่อนผ่าตัด เพื่อให่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย มีความแข็งแรง ซึ่งมีผลต่อการพักฟื้นหลังผ่าตัด ช่วยให้ร่างกายพักฟื้นได้เร็วขึ้น

การดูแลหลังเสริมคางด้วยซิลิโคน

  1. ในช่วง 1-2 วันแรก ให้ประคบเย็นบริเวณคางบ่อย ๆ
  2. ดูแลแผลในปาก และงดทานอาหารที่มีลักษณะแข็งหรือที่ต้องใช้แรงบดเคี้ยว
  3. ดื่มน้ำโดยใช้หลอด ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือทานอาหารที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด
  4. บ้วนปากบ่อย ๆ ด้วยน้ำยาบ้วนปาก น้ำเกลือหรือน้ำสะอาด
  5. อย่าใช้ลิ้นดุนหรือใช้มือดึงไหมที่เย็บ และระวังอย่างยิ้มกว้างมาก
  6. ก่อนรับประทานผัก ผลไม้ควรล้างให้สะอาด ไม่ควรทานปลาดิบหรือเนื้อสุกๆ ดิบๆ ซึ่งมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรค
  7. งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 สัปดาห์
  8. 1 สัปดาห์หลังผ่าตัดแพทย์จะนัดมาตรวจอาการ และตรวจซ้ำหลังจากนั้นอีก 1 เดือน
  9. ในช่วง 3-4 สัปดาห์แรก ควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกบริเวณคาง
  10. หลังการรักษาประมาณ 1-2 เดือน อาการบวมจะยุบลง และได้รูปทรงของคางใหม่ โดยแท่งซิลิโคนจะเกาะติดแน่นกับขอบกระดูกและไม่ขยับเขยื้อน นอกจากจะโดนกระแทกอย่างแรง
ข้อดีศัลยกรรมที่ Masterpiece Hospital