ฮอร์โมนเพศหญิงคืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง และการดูแลให้ปกติ

masterpiece

ฮอร์โมนเพศหญิง คือสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อควบคุมระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือน การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร รวมไปถึงของเรื่องความงามและอ่อนเยาว์ของผู้หญิง เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงทำงานไม่ปกติ จึงส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน นอนหลับยาก รวมถึงมีความผิดปกติด้านร่างกายอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น ฮอร์โมนเพศหญิง จึงเป็นสิ่งที่คุณผู้หญิงควรให้ความสนใจ ในวันนี้ มาสเตอร์พีชได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศหญิงมาให้แล้ว ไปดูพร้อมกันในบทความได้เลย

ฮอร์โมนเพศหญิงคืออะไร

ฮอร์โมนเพศหญิง คือ สารเคมีในร่างกายของผู้หญิง ซึ่งฮอร์โมนแต่ละตัวจะถูกผลิตออกมาจากอวัยวะที่แตกต่างกัน และมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป โดยฮอร์โมนเหล่านี้ จะมีผลต่อการทำงานของระบบร่างกาย ทั้งภายนอกและภายใน ยิ่งอายุเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนในร่างกายก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงวัยทอง ที่ประจำเดือนหมดไป ฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลงมาก จนเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อร่างกายของผู้หญิงอย่างชัดเจน เช่น ผิวแห้ง ผมร่วง ไม่สดใส รวมถึงในส่วนของจิตใจ จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่รวดเร็ว หงุดหงิด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศหญิงทั้งหมด

ฮอร์โมนเพศหญิงมีอะไรบ้าง

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

ฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่ มีหน้าที่ในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ จึงถือเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ทำให้ร่างกายของผู้หญิงเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านของสรีระ ไม่ว่าจะเป็นหน้าอก สะโพก เสียง อีกทั้งในด้านอารมณ์ยังทำให้ผู้หญิงมีนิสัยอ่อนหวาน อ่อนไหวง่ายอีกด้วย

ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบร่างกาย เช่น มีส่วนช่วยในการรักษาคอลลาเจนในกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อ ทำงานร่วมกับระบบประสาทและสมอง รักษาสมดุลด้านอารมณ์และจิตใจ รวมไปถึงควบคุมการผลิตคอเลสเตอรอลในระบบหัวใจและหลอดเลือด กล่าวคือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีส่วนสำคัญกับร่างกายเป็นอย่างมาก ในกรณีที่ฮอร์โมนผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน จึงควรมีการรักษาระดับฮอร์โมนให้สมดุลอยู่เสมอ

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

สำหรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่ช่วงหลังตกไข่ โดยจะทำงานร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ควบคุมการทำงานของระบบร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือน รวมถึงการตั้งครรภ์ ซึ่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีส่วนสำคัญต่อการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากในกรณีที่ไม่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะส่งผลให้ไม่สามารถมีบุตรได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีมากเกินไป ก็ไม่เป็นผลดีต่อร่างกายเช่นเดียวกัน เนื่องจากจะทำให้มีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย หรือในบางคนอาจถึงขั้นซึมเศร้าได้ ดังนั้น เพื่อควบคุมฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ที่สมดุล จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีการตรวจเช็คฮอร์โมนเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนร่วมด้วย

ฮอร์โมน Follicular stimulating hormone (FSH)

ฮอร์โมน FHS เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของรังไข่ เพื่อให้พร้อมต่อการผสมกับอสุจิ อีกทั้งยังมีผลต่อการเติบโต และรอบประจำเดือน โดยในกรณีที่ฮอร์โมน FSH ทำงานผิดปกติ จะทำให้ไม่มีการเจริญเติบโตของไข่ และส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ เนื่องจากทำให้มีบุตรยาก หรือหากตั้งครรภ์อาจมีโอกาสแท้งบุตรได้ เกิดอาการครรภ์เป็นพิษ รวมถึงมีโอกาสที่ทารกในครรภ์จะเติบโตช้ากว่าปกติด้วย อีกทั้งอาจมีภาวะไข่ตกหลายใบ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และในระยะยาวอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้

ฮอร์โมน Luteinizing hormone (LH)

ฮอร์โมน LH เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง โดยมีหน้าที่กระตุ้นรังไข่ ซึ่งถือเป็นสัญญาณสำคัญของการมีครอบครัว และความพร้อมของการตั้งครรภ์ เนื่องจากเมื่อร่างกายมีการปล่อยไข่ออกมาพร้อมจะปฏิสนธิ ฮอร์โมน LH จะเพิ่มอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการตกไข่ภายใน 12-36 ชั่วโมง ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้ หรือภายใน 48 ชั่วโมง จะเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น

ถ้าฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุลจะมีอาการอะไรบ้าง

ในกรณีที่ฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล จะแสดงอาการค่อนข้างชัดเจน และสังเกตเห็นได้ง่ายกว่า โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงวัยทอง หรือประจำเดือนหมด โดยมีอาการ ดังนี้

  • ประจำเดือนไม่มาติดต่อกันอย่างน้อย 12 เดือน
  • มีอาการร้อนวูบวาบ เฉื่อยชา ขาดชีวิตชีวา
  • มีอารมณ์หดหู่ ซึมเศร้า และหงุดหงิด
  • ฉุนเฉียวง่าย มีความเครียด และความวิตกกังวล
  • ความจำพร่าเลือน และไม่มีสมาธิ
  • ระบบเผาผลาญแย่ลง แม้ว่าทานอาหารน้อย แต่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น
  • เป็นภูมิแพ้ได้ง่าย และมีอาการป่วยบ่อย ๆ
  • หน้าอกหย่อนยาน ช่องคลอดขาดความชุ่มชื้น รวมถึงการตอบสนองทางเพศไม่เป็นที่น่าพอใจ
  • สุขภาพผิวและผมเสียสมดุล หากร้ายแรงกว่านั้นอาจมีภาวะกระดูกพรุน

ความสำคัญของการตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง

ฮอร์โมนเพศหญิง มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เนื่องจากส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อีกทั้งในกรณีที่ฮอร์โมนไม่สมดุล ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้น จึงควรมีการตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง เพราะจะทำให้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย และสามารถจัดการกับปัญหานั้นได้อย่างตรงจุด อีกทั้งการตรวจระดับฮอร์โมน ยังทำให้ทราบว่าฮอร์โมนใดในร่างกายของเราที่มีน้อย หรือกำลังลดลง และเมื่อทราบจะทำให้เราสามารถเตรียมพร้อมรับมือและดูแลตัวเองได้

การตรวจฮอร์โมนเพศหญิง สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป หรือหากมีปัญหาสุขภาพ เช่น น้ำหนักขึ้นง่ายหรืออ่อนเพลียโดยไม่มีสาเหตุ ก็สามารถตรวจระดับฮอร์โมนเพื่อหาสาเหตุได้เช่นเดียวกัน

ปรับฮอร์โมนเพศหญิง สร้างสมดุลให้ร่างกาย

สำหรับใครที่ต้องการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช มีแพ็กเกจตรวจฮอร์โมนเพศหญิง 9 รายการ ในราคา 7,500 บาท โดยมีรายการตรวจดังนี้

  • ตรวจร่างกายและให้คำปรึกษาโดยแพทย์
  • การวัดสัดส่วนองค์ประกอบของร่างกาย
  • ตรวจระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
  • ตรวจระดับโปรตีนขนส่งฮอร์โมนเพศ
  • ตรวจระดับฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
  • ตรวจระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล
  • ตรวจระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน
  • ตรวจระดับฮอร์โมนการเจริญพันธุ์
  • ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิงควบคุมการตกไข่

แผนก Sukho Healthcare พร้อมให้บริการ ดำเนินการโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ พร้อมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย และได้มาตรฐานโรงพยาบาล ถ้าสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ตามช่องทางต่อไปนี้ https://www.masterpiecehospital.com

แชร์เลย: