โรคผิวหนังที่หนังศีรษะ ปัญหาหนังศีรษะที่ต้องการแก้ไขให้ถูกวิธี

โรคผิวหนังที่หนังศีรษะ ปัญหาหนังศีรษะที่ต้องการแก้ไขให้ถูกวิธี

โรคผิวหนังที่หนังศีรษะ ไม่ว่าจะเป็นรังแค เซ็บเดิร์ม โรคสะเก็ดเงิน โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เชื้อราบนหนังศีรษะ รวมถึงรูขุมขนอักเสบ ล้วนเป็นปัญหาหนังศีรษะที่สร้างความรำคาญใจให้แก่ใครหลายคน เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ในบทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลโรคผิวหนังที่หนังศีรษะ และการรักษาหนังศีรษะอย่างถูกวิธี เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหนังศีรษะได้อย่างเหมาะสม จะมีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

โรคผิวหนังที่หนังศีรษะคืออะไร?

โรคผิวหนังที่หนังศีรษะคืออะไร?

โรคผิวหนังที่หนังศีรษะ คือโรคที่เกิดจากการอักเสบของผิวหนังบริเวณศีรษะ หรือการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณหนังศีรษะ ส่งผลให้เกิดอาการคัน บวม แดง ในบางกรณีอาจมีผมร่วงร่วมด้วย โดยโรคผิวหนังที่หนังศีรษะ เป็นอาการเรื้อรัง เมื่อถูกกระตุ้นก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้มีการปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง

โรคผิวหนังที่หนังศีรษะที่พบบ่อย

โรคผิวหนังที่หนังศีรษะที่พบบ่อย

สำหรับโรคผิวหนังบนหนังศีรษะที่พบได้บ่อย มีดังนี้

รังแค (Dandruff)

ปรึกษาหมอฟรี

รังแค เป็นปัญหาหนังศีรษะที่พบได้บ่อย โดยจะมีขุยหรือเกล็ดสีขาวบริเวณหนังศีรษะ ซึ่งสามารถพบได้บริเวณเส้นผม โคนผม คิ้ว จนถึงใบหู ในบางกรณีอาจพบได้บนเสื้อผ้า รังแคเกิดจากเซลล์หนังที่ศีรษะที่ลอก จนก่อให้เกิดอาการคัน อย่างไรก็ตาม รังแคไม่มีความอันตราย และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม


โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

โรคเซ็บเดิร์ม เป็นปัญหาหนังศีรษะที่มีอาการคล้ายกับรังแค แต่จะมีความรุนแรงกว่า ทั้งยังสามารถลุกลามไปได้ทั่วร่างกาย โดยจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง และมีสะเก็ดสีขาวหรือเหลืองบริเวณผิวหนัง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการคัน ในบางกรณีอาจมีอาการปวดร่วมด้วย โรคเซ็บเดิร์มจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจะทำให้เสียความมั่นใจ แนะนำให้มีการปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม 

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์ผิวในร่างกายตัวเอง จนทำให้เกิดผื่นแดง คัน และตกสะเก็ดเป็นสีเงิน หรือสีขาวลอกออกมาเป็นขุยคล้ายรังแคตั้งแต่ศีรษะ โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมรอบตัว โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่มีความรุนแรง แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัย และรับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน


โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Eczema/Atopic Dermatitis)

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคที่มักจะพบในเด็ก แต่ก็สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ภูมิแพ้ผิวหนังจะเกิดจากกรรมพันธุ์ และปัจจัยรอบตัว เช่น สารเคมี ไรฝุ่น สภาพอากาศ เหงื่อ อาหารบางชนิด เช่น นมหรือไข่ ในกรณีของผื่นภูมิแพ้บนหนังศีรษะ อาจมีอาการแพ้แชมพูหรือผลิตภัณฑ์เส้นผม โดยอาการของภูมิแพ้ผิวหนังคือเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น จะทำให้เกิดผื่นและมีอาการคัน สำหรับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง แนะนำให้รักษากับแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพื่อให้แพทย์ประเมินปัญหา และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพื่อควบคุมโรคไม่ให้อาการรุนแรง


เชื้อราบนหนังศีรษะ (Scalp Ringworm/Tinea Capitis)

เชื้อราบนหนังศีรษะ เป็นปัญหาหนังศีรษะที่ส่งผลต่อเส้นผมโดยตรง ซึ่งจะทำให้มีอาการคัน มีผื่นแดง ทั้งยังทำให้หนังศีรษะเป็นขุย และมีผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เชื้อราบนหนังศีรษะสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบได้บ่อยในเด็ก หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เนื่องจากร่างกายจะอ่อนแอ แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพื่อรับการรักษาทันที เนื่องจากในกรณีที่ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาจทำให้มีโรคแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อแบคทีเรียบนหนังศีรษะ หรืออาจมีรอยแผลเป็น และพังผืดที่หนังศีรษะ ร้ายแรงกว่านั้นอาจทำให้มีผมร่วงถาวรได้ 


รูขุมขนอักเสบที่หนังศีรษะ (Folliculitis)

รูขุมขนอักเสบที่หนังศีรษะ เกิดจากแบคทีเรียหรือเชื้อราในรูขุมขนบนหนังศีรษะ ทำให้เกิดตุ่มแดงหรือหนองบริเวณหนังศีรษะ นอกเหนือจากนั้น ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี การบาดเจ็บที่หนังศีรษะ ก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหนังศีรษะอย่างรูขุมขนอักเสบได้ ในเบื้องต้นสามารถรักษาได้ด้วยการใช้แชมพูลดการอักเสบ ควบคู่กับการใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม กรณีที่รักษาด้วยวิธีทั่วไปและไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างจริงจัง

อาการที่บ่งบอกว่าหนังศีรษะมีปัญหา

อาการที่บ่งบอกว่าหนังศีรษะมีปัญหา

ผิวหนังศีรษะอักเสบ สามารถสังเกตได้จากอาการ ดังนี้

  • มีอาการคัน: อาการคัน เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าหนังศีรษะอาจมีความระคายเคือง ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้ผลิตภัณฑ์ หรือโรคผิวหนัง
  • หนังศีรษะแห้ง: หนังศีรษะแห้ง เป็นปัญหาที่หนังศีรษะขาดความชุ่มชื้น จนทำให้เกิดการระคายเคือง หรือแห้งลอก
  • หนังศีรษะมัน: หนังศีรษะมัน เป็นปัญหาที่เกิดจากการผลิตน้ำมันซีบัมมากเกินไปจากต่อมไขมันในหนังศีรษะ เป็นจุดเริ่มต้นของรังแค รวมถึงปัญหาผมร่วง ผมบาง
  • ผมร่วง ผมบาง: ผมร่วง ผมบาง เป็นปัญหาที่ทำให้หลายคนเสียความมั่นใจ เนื่องจากจะทำให้เส้นผมหลุดร่วงจากหนังศีรษะอย่างต่อเนื่อง
  • ผิวหนังลอก: ในกรณีที่หนังศีรษะลอกหรือมีขุย เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้อาจมีสารเคมี หรืออาจมีโรคผิวหนังแทรกซ้อนได้
  • มีกลิ่นไม่พึงประสงค์: หนังศีรษะมีกลิ่น เกิดจากการสะสมของแบคทีเรีย และเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาหนังศีรษะอื่น ๆ ที่อาจตามมา
ปัจจัยกระตุ้นและสาเหตุของปัญหาหนังศีรษะ

ปัจจัยกระตุ้นและสาเหตุของปัญหาหนังศีรษะ

สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาหนังศีรษะ สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น

  • การใช้สารเคมี: การใช้สารเคมี เช่น ย้อมสีผม หรือยืดผมบ่อย ๆ จะทำให้หนังศีรษะแห้ง และระคายเคือง ทั้งยังมีส่วนกระตุ้นให้หนังศีรษะอักเสบได้
  • ฮอร์โมน: ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในร่างกาย มีส่วนทำให้ต่อมผลิตไขมันซีบัมบนหนังศีรษะทำงานผิดปกติ จนเกิดปัญหาหนังศีรษะมัน และทำให้เกิดปัญหาหนังศีรษะอื่น ๆ ตามมาได้
  • เชื้อรา: เชื้อราบนหนังศีรษะ มีส่วนทำให้เกิดการอักเสบบนหนังศีรษะ ทำให้เกิดอาการคัน และหากปล่อยทิ้งไว้ จะมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้
  • อากาศและมลพิษ: อากาศแห้ง อากาศเย็น ฝุ่น รวมถึงแสงแดด ล้วนเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดปัญหาหนังศีรษะได้ทั้งสิ้น
  • ความเครียด: ความเครียดที่สะสม จะทำให้เกิดปัญหาผมร่วง และทำให้เกิดการระคายเคืองบนหนังศีรษะได้

การขาดสารอาหาร: การขาดวิตามินที่จำเป็นในการบำรุงหนังศีรษะ มีส่วนทำให้สุขภาพหนังศีรษะแย่ลง จนเกิดปัญหาหนังศีรษะตามมา นอกจากนี้อาหารบางชนิด ยังมีส่วนทำให้การผลิตไขมันบนหนังศีรษะผิดปกติ

แนวทางการรักษาและการดูแลปัญหาหนังศีรษะ

แนวทางการรักษาและการดูแลปัญหาหนังศีรษะ

การดูแลรักษาโรคผิวหนังที่หนังศีรษะ แนะนำให้ประเมินจากปัญหาของแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นควรมีการดูแลตัวเอง ดังนี้

  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลหนังศีรษะที่เหมาะสม: การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับปัญหาของแต่ละคน และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี จะช่วยแก้ไขปัญหาหนังศีรษะในเบื้องต้นได้
  • เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์: แนะนำให้ทานอาหารที่มีวิตามินช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น Zinc วิตามิน B วิตามิน D ธาตุเหล็ก เป็นต้น
  • ทานยา: ในกรณีที่มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ชีวิต แต่อาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีรุนแรง: น้ำยาย้อมผม ครีมยืดผม ครีมดัดผม ล้วนมีส่วนของสารเคมีที่ทำให้หนังศีรษะระคายเคือง ในกรณีที่มีโรคผิวหนังที่หนังศีรษะ แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีไปก่อน
  • งดเกาหรือหวีผมแรง ๆ: การเกาศีรษะหรือหวีผมแรง ๆ จะทำให้หนังศีรษะระคายเคืองและอักเสบได้ แนะนำให้ดูแลเส้นผมอย่างนุ่มนวล
  • ลดความเครียด: ความเครียด เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาหนังศีรษะ แนะนำให้ผ่อนคลาย โดยการหางานอดิเรกทำ เพื่อลดความเครียด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อน: การใช้ความร้อนบ่อย ๆ มีส่วนทำให้หนังศีรษะอ่อนแอ และผมแห้งเสียได้ แนะนำให้ใช้ความร้อนที่เหมาะสม ไม่ร้อนจนเกินไป หรือมีการบำรุงเส้นผมอย่างสม่ำเสมอ
  • รักษาความสะอาด: การรักษาความสะอาด โดยการสระผมอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกบนหนังศีรษะ รวมถึงเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แนะนำให้มีการดูแลความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

A : รังแคกับเซ็บเดิร์ม มีความแตกต่างกันที่อาการ โดยอาการของรังแคจะมีขุยสีขาวบนหนังศีรษะ ซึ่งก่อให้เกิดอาการคัน แต่จะไม่อันตราย ในขณะที่เซ็บเดิร์มจะมีขุยสีขาว และก่อให้เกิดอาการอักเสบและระคายเคืองผิวหนังที่รุนแรงกว่ารังแค จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

A : หนังศีรษะแห้ง ควรใช้แชมพูที่ช่วยที่มีสารเพิ่มความชุ่มชื้น และมีสารสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง เพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้เส้นผมไม่แห้งกรอบ และแนะนำให้เลี่ยงแชมพูที่มีสารเคมี เนื่องจากอาจจะทำให้หนังศีรษะระคายเคืองได้

A : ผมร่วงจากหนังศีรษะอักเสบ สามารถรักษาได้ โดยแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม ทำให้เส้นผมสามารถขึ้นใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นจะต้องมีการดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอาการ และป้องกันไม่ให้ปัญหาหนังศีรษะอักเสบเกิดขึ้นอีก

A : การรักษาโรคผิวหนังที่ศีรษะ ขึ้นอยู่กับแต่ละโรค โดยบางโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ ในขณะที่บางโรคอาจจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการ และอาจจะมีอาการเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น

สรุป

โรคผิวหนังที่หนังศีรษะ เป็นปัญหาหนังที่ศีรษะที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของใครหลายคน โดยบางโรคอาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง แต่ก็ส่งผลต่อรูปลักษณ์และความมั่นใจ จนทำให้เกิดความกังวล และความเครียดตามมา แนะนำให้มีการดูแลตัวเอง เช่น เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม รักษาความสะอาด ดูแลหนังศีรษะและเส้นผมอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้โรคผิวหนังค่อย ๆ ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ปัญหาหนังศีรษะลุกลาม และไม่ดีขึ้น แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพื่อให้แพทย์ประเมินปัญหา และรับการรักษาที่เหมาะสม ไม่ควรซื้อยามาทานเอง เพราะอาจมีผลข้างเคียงตามมาได้

แหล่งอ้างอิง

https://www.nhs.uk/conditions/ringworm

https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/psoriasis/symptoms-causes/syc-20355840

บทความโดย

เราคือโรงพยาบาลศัลยกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย มีความต้องการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนเกี่ยวกับบริการศัลยกรรมด้านความงาม โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช ดูแลคุณตั้งแต่การให้คำปรึกษาไปจนถึงหลังการผ่าตัด โดยทีมแพทย์มากประสบการณ์ที่มีประสบการณ์ มอบบริการครบวงจรด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ดำเนินการภายใต้มาตรฐานการรักษาพยาบาล ของโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการให้บริการสถานพยาบาลระดับสากล AACI

ข้อมูลการติดต่อโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช
ตั้งอยู่ที่ 99/19 ถนนสุไขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

แชร์เลย:
register