หนังตากระตุก ขวาร้าย ซ้ายดี จริงหรือ ถ้าไม่ใช่เรื่องโชคลางแต่ถ้าเป็นเรื่องสุขภาพ จะทำอย่างไรดี

แพทย์ประจำโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอกับอาการหนังตากระตุก หรือตาเขม่นกัน แต่กับคิดว่าต้องเกี่ยวกับเรื่องดวงชะตา และโชคลางแน่นอน เพราะคนอายุมักชอบพูดกันว่า “ขวาร้ายซ้ายดี” แต่จริง ๆ แล้วการที่ตากระตุกบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ก็สามารถบอกเป็นนัย ๆ ให้ได้เช่นกันว่า กำลังมีปัญหาสุขภาพ หรือร่างกายมีความผิดปกติบางอย่างที่คาดไม่ถึง

หนังตากระตุกคืออะไร

หนังตากระตุก (Eye twitching) คือภาวะที่เปลือกตากระตุกหรือสั่นไหวแบบรวดเร็ว สามารถเป็นได้ทั้งเปลือกตาบน – ล่าง ส่วนมากจะเป็นเพียงชั่วคราวไม่ส่งผลอะไรต่อการดำเนิดชีวิต แต่บางกรณีก็อาจทำให้ตาปิดได้ไม่สนิทจนส่งผลต่อการมองเห็น นอกจากนี้อาการตากระตุกยังเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายอื่น ๆ ได้อีกมากมาย

หนังตากกระตุกเกิดจากอะไร

อาการหนังตาการตุก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยมีทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกที่คนไข้ไม่สามารถควบคุมได้ โดยสาเหตุอาการตากระตุกพบที่พบได้บ่อยมีดังต่อไปนี้

  • เกิดจากการพักผ่อนไม่เป็นเวลา หรือนอนไม่พอกับความต้องการของร่างกาย
  • เกิดจากมีภาวะความเครียดสะสมมาเป็นเวลานาน
  • เกิดจากการดื่มกาแฟ ชา หรือคาเฟอีนมากเกินไป
  • เกิดจากอยู่ในพื้นกลางแจ้ง โดนแดด หรือแสงสว่างมาก ๆ
  • เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานาน ๆ จนทำให้ตาเหนื่อยล้า
  • เกิดจากการอยู่ในห้องแอร์เป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลทำให้ตาแห้ง จนหนังตากระตุกได้
  • เกิดจากโรคประจำตัวของคนไข้ เช่น โรคภูมิแพ้อากาศ
  • เกิดจากการสูบหรี่ม้วน หรือบุหรี่ไฟฟ้า เป็นเวลานาน ๆ

วิธีแก้หนังตากระตุก

อาการหนังตากระตุก เป็นภาวะที่ไม่รุนแรงมักเกิดขึ้นได้ตามปกติกับคนไข้ที่ผักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งสามารถดูแลรักษาง่าย ๆ ด้วยตัวเอง แต่หากเป็นติดต่อกันมากกว่า 1 สัปดาห์ อาจแนะนำให้เข้ารับคำปรึกษากับจักษุแพทย์ที่โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช เพื่อวินัยปัญหาและสาเหตุ โดยมีแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้

  • การฉีดโบท็อกซ์

โบท็อกซ์ (Botox) จะเหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหาหนังตากระตุกแบบเรื้อรัง ซึ่งจะสามารถช่วยหยุดการกระตุกลงได้เพียงชั่วคราว เพราะเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหยุดการทำงานชั่วขณะเท่านั้น

  • การศัลยกรรมผ่าตัด

การผ่าตัดแก้ปัญหาหนังตากระตุก จะเหมาะกับคนไข้ที่มีอาการตากระตุกแบบเรื้อรังเช่นกัน โดยเป็นการผ่าตัดกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่อยู่บริเวณเปลือกตาออกนั่นเอง

  • การรับประทานยา

การใช้ยา หรือรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ จะสามารถช่วยบรรเทาอาการหนังตากระตุกได้เพียงชั่วคราว โดยยาต้องสั่งโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น เพื่อป้องกันอันตรายและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ

การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการหนังตากระตุก

หากพบว่าตัวเองมีอาการหนังตากระตุก คนไข้ก็ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะสามารถดูแลเบื้องต้นได้อย่างง่ายได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง หรือเป็นติดต่อกันนาน ๆ โดยการดูแลเมื่อมีอาการทำได้ดังนี้

  • แนะนำให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอย่างน้อย 7 – 8 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ หรือพักสายตาจากการจ้องมองคอมเป็นเวลานาน ๆ
  • ลดปริมาณการรับประทานชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • งดการสูบบุหรี่ม้อน และบุหรี่ไฟฟ้า
  • แนะนำให้หากิจกรรมที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเครียดสะสม
  • แนะนำให้ลองนวดกล้ามเนื้อรอบดวงตา เมื่อมีอาการเมื่อยล้า
  • ประคบอุ่นบริเวณรอบ ๆ ดวงตาประมาณ 10 นาที
  • แนะนำให้หยอดน้ำตาเทียม หากมีอาการตาแห้ง หรือระคายเคือง

มีอาการหนังตากระตุกนานแค่ไหนถึงควรพบแพทย์

อาการหนังตากระตุกมักเกิดขึ้นได้เอง และเป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่กี่วันก็หายไปได้เอง ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลมากเกินไป แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่พบว่ามีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้

  • หากมีอาการตากระตุกติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์
  • อาการกระตุกเกิดขึ้นยังตำแหน่งเดิมบ่อยครั้ง หรือเกิดกำบริเวณอื่น ๆ บนใบหน้า
  • มีอาการหเเกร็จของกล้ามเนื้อ เมื่อเกิดอาการกระตุก
  • บริเวณรอบดวงตามีอาการบวมแดง หรือมีอาการน้ำตาไหล
  • กล้ามเนื้อหนังตามีอาการอ่อนแรงจนทำให้หย่อนคล้อยลงมาบดบังการมองเห็น
  • เมื่อมีอาการกระตุก จะส่งผลทำให้หนังตาปิดลงมาแบบสนิท

หากคนไข้มีอาการดังกล่าวขอแนะนำให้เข้าพบจักษุแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และรักษาตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

แชร์เลย:

Similar Posts